พรหมวิหาร 4 กับการทำเครือข่าย
12 มกราคม 2559
แม้ว่าผมจะเป็นคนที่ดูแล้ว จะไม่น่าจะมีธรรมะในใจ (ฮา-ฮา-ฮา) แต่จริงๆแล้ว หลายคนคงไม่รู้ว่า ผมนี่แหละคือ อารามบอยตัวจริง อยู่วัด เดินตามพระถือปิ่นโตตอนออกบิณฑบาตรเช้าๆ
และเรียนบนศาลาวัดมาตั้งแต่เด็กๆ
ผมซึมซับเรื่องราวของศาสนามาพอสมควร
คุณพ่อ-คุณแม่ก็เป็นชาวพุทธ (คุณพ่อจะเสียชีวิตแล้ว) คุณแม่ก็ยังตักบาตรเกือบทุกๆ
เช้า เรื่องราวของศาสนาก็มีมากในครอบครัว
เมื่อเข้าวัยทำงาน ตั้งแต่เริ่มเป็นหัวหน้าแผนก
จนเลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่าย ผมก็เริ่มเรียนเรียนเนื้อหาของงานบริหาร
หลักสูตรต่างๆก็เพิ่มขึ้น ตามตำแหน่งงาน
แต่สิ่งที่ผมชอบมากเป็นพิเศษก็คือเรื่องราวของคน และ อาจารย์ท่านหนึ่งก็บอกผมว่า
ธรรมะ ของพระพุทธเจ้านี่แหละ นำมาใช้ในการบริหารงาน ดำเนินชีวิต และ อยู่กับเพื่อนร่วมโลกได้อย่างเข้าใจคน
และหนึ่งในนั้น ก็คือ พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร
4
เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง
และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1.
เมตตา (ความรักใคร่
ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี)
2.
กรุณา (ความสงสาร
คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยาก)
ลองคิดดูนะครับว่า
เราไปชวนใครเขามาร่วมทำธุรกิจกับเรา เรามีความจริงใจ อยากให้เขาสำเร็จใช่ไหมครับ
ในขณะเดียวกัน ถ้าเขาสำเร็จ เราก็คงช่วยให้เขาและครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
หรือถ้าคนที่เราชวนมาเขารวยอยู่แล้ว เรื่องเงินอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับเขา
เขาก็อาจจะได้อิสระเรื่องเวลา และมีเพื่อน
เราคิดแบบนี้กับทุกๆ คน เราก็ได้
พรหมวิหารไป 2 ข้อแล้ว คิด เมตตากับกรุณา ไปพร้อมกันเลย ถ้าเรามีเมตตากับกรุณา
เราก็จะไม่มีอิจฉา-ริษยา อาจจะไม่อยากมีความโกรธเคืองใครๆ ด้วย
สำหรับ ข้อมุทิตา นั้น
เราคงจะพบเห็นกันได้บ่อยๆ ในสังคมชาว SOL
ของเรา เราพลอยยินดีกับผู้ประสพความสำเร็จและชื่นชมกันอยู่เสมอ
และข้อสุดท้าย
ผมคิดว่าเป็นข้อสำคัญวึ่งต้องใช้ความเข้าใจมากๆ คิอ อุเบกขา – คือการพยายามวางเฉย
นั้นมันไม่ใช่ เฉยเมย หรือ ไม่เอาใจใส่ หรือ ทำเป้นทองไม่รู้ร้อนนะครับ
อย่าไปตีความแบบนั้น เราคงเป็นทุกข์เป็นร้อนกับ เรื่องราวของคนอื่นๆ ได้
แต่การวางเฉยในที่นี้ ผมคิดว่าน่าจะหมายถึง การมองปัญหาต่างๆ อย่างมีสติและ ค่อยๆ
วิเคราะห์แล้วหาทางแก้ไข ด้วยความไม่ร้อนรน หรือไม่ over action จนเกินไป
ข้อเท็จจริงในโลกนี้ก็คือ
หลายๆเรื่องแก้ไขได้ และที่จริงมากกว่าก็คือ มีอีกหลายเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ ห้ามคนว่าเรา-ไม่ได้ ห้ามคนตำหนิติเตียนเรา-ไม่ได้
ธรรมะ
ข้อ อุเบกขา อาจจะทำให้เราสงบ เยือกเย็นและควบคุมสถานการณ์ได้ดีมากขึ้น
มีหลายๆคน รู้ธรรมะ แบบท่องก็ยังได้
แต่พอเอาเข้าสู่การปฏิบัติอาจจะทำได้ไม่ดีนัก ยังมีเรื่องราวของความไม่เข้าใจคน
ยังทะเลาะเบาะแว้ง และมีเรื่องบาดหมาง ไม่พอใจ
มันก็ถูกครับ คนเราก็ต่างจิต ต่างใจ
คนนั้นจะเอาแบบนั้น คนนี้จะเอาแบบนี้ และ จริงๆ แล้วคนปกติ อย่างเราๆ
ก็ไม่มีใครจะตัด รัก-โลภ-โกรธ-หลง กันได้ แบบ เด็ดขาดจริงๆ และอีกอย่างนึงก็คือ
พื้นฐานความคิด พื้นฐานการดำเนินชีวิตก็แตกต่างหลากหลายมาก
ดังนั้นการเอาธรรมะมาใช้ ก็คงไม่ได้แปลว่า
เราจะทำให้ทุกๆคนรัก หรือ ทำแล้วดีกับทุกๆคน
แต่ความคาดหวังของผมนั้นคิดว่า น่าจะทำให้พวกเรา มีความสุขมากขึ้น
และช่วยให้ทีมงานของเรา ทั้ง อัพไลน์ ดาวน์ไลน์ และ ไซต์ไลน์ ทำงานด้วยกัน อย่างมีความสุขกันตามอัตภาพ
ความจริงแล้ว ผมก็ไม่มีความดีมากพอ ที่จะสั่งสอนใคร
เรื่องราวที่โพสต์ในวันนี้ ถือซะว่า บอกเล่าเรื่องราวของตัวผม และ
เครื่องมือนึงที่ผมใช้ ดำเนินชีวิตและทำงาน นะครับ
เพราะคนที่นำธรรมะ มาใช้บ่อยๆ
มันก็จะเป็นธรรมชาติ และ สุดท้ายแล้ว คนที่จะมีความสุขมากกว่าใครก็คือตัวเราและคนที่เกี่ยวข้องกับเรา
นี่แหละครับ
@@@@@@@@@@
เจ้าของ blog
ชื่อ:
บุญยิ่ง ฤกษ์อุดม
Tel.083-1258400
Line ID: boonying
e-mail:boon_ying@hotmail.com
Tel.083-1258400
Line ID: boonying
e-mail:boon_ying@hotmail.com
เพื่อนเฟสบุ้ค
เพื่อน google
ติดตามเรื่องราวจาก blog
สนใจธุรกิจ
คลิ้กได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น